ประวัติยุวกาชาดสากล

ประวัติยุวกาชาดสากล
ผู้ให้กำเนิดการกาชาด คือ นายอังรี ดูนังต์ (Henry Dunant) ชาวสวิสเกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2371 ณ กรุง เจนีวา ประเทศสวิส
เซอร์แลน  ในปี พ.ศ. 2402 ได้เดินทางไปแสวงโชคในทวีปอัฟริกา ขณะนั้นเป็นช่วงสงครามที่กองทัพ ฝรั่งเศสช่วยอิตาลีรบกับออสเตรีย ระหว่างที่เดินทางทางผ่านหมู่บ้านซอลเฟริโน ทางภาคเหนือของอิตาลี ดูนังต์ได้เห็นทหาร ฝรั่งเศสกับออสเตรียจำนวนสี่แสนคนสู้รบกัน มีผู้คนล้มตายและบาดเจ็บเกลื่อนกลาดทั่วสนามรบ โดยไม่มีผู้ใดให้ความช่วย เหลือหรือรักษาพยาบาล เขาจึงลงมือช่วยเหลือผู้บาดเจ็บด้วยตนเองและขอร้องชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นให้มาช่วยด้วย และ นี่เองเป็นจุดกำเนิดความคิดของการก่อตั้งการกาชาดขึ้น
ดูนังต์ได้เริ่มก่อตั้งองค์การอาสาสมัครซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วย เหลือดูแลทหารบาดเจ็บในยามสงคราม ต่อมาได้มีผู้เสนอความคิดของดูนังต์ต่อสมาคมสงเคราะห์สาธารณะแห่งกรุงเจนีวาใน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากแนวความคิดดังกล่าวจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาทุกข์ทหารบาด เจ็บขึ้นเมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2406 ปัจจุบันคณะกรรมการชุดนี้คือ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross) หรือที่เรียกย่อว่า ICRC โดยมีหลักการ คือ มนุษยธรรม ไม่ลำเอียง เป็นกลาง เป็นอิสระ บริการอาสาสมัคร เป็นเอกภาพ และเป็นสากล
อังรี ดูนังต์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่ง มีการมอบให้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2444 ขณะที่มีอายุได้ 73 ปี ดูนังต์ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2453 อายุ 82 ปี
บทบาทของสภากาชาดสากล
              1. คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC มีพันธกิจในการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยสงครามและความขัดแย้ง ทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ ได้รับการรับรองจากอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีการลงนามรับรองโดย 194 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย 

          2. สหพันธ์กาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ หรือ IFRC มีหน้าที่ในการประสานงานและรวบรวมสรรพกำลังของประเทศสมาชิกในการบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติขั้นรุนแรง ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินในวงกว้าง เช่น เหตุการณ์แผ่นดินถล่มในอัฟกานิสถาน หรือเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ 

          3. สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดง (National Societies) ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งประกอบไปด้วยการบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติ การบริการด้านสุขภาพและสังคม ทั้งนี้ในยามสงครามมีหน้าที่ช่วยเหลือพลเรือนที่ได้รับผลกระทบและช่วยงานของหน่วยบริการแพทย์ทหารตามสมควร ปัจจุบันมีสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงกว่า 186 ประเทศทั่วโลก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยุวกาชาดสากล