ประวัติยุวกาชาดไทย
สำหรับประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง จอมพลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ให้ดำรงตำแหน่งอุปนายกสภากาชาดสยาม ในการนี้ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงรับหลักการจากการประชุมเมื่อ พ.ศ. 2462 ที่เสนอแนะให้กาชาดประเทศต่าง ๆ จัดตั้งกาชาดสำหรับเด็กขึ้น
27 มกราคม พ.ศ. 2465 กิจการ ยุวกาชาด จึงได้รับการก่อตั้งขึ้น โดยใช้ ชื่อว่า
“อนุสภากาชาดสยาม” รับเด็กอายุ 7 - 18 ปี เข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงมีพระนิพนธ์เกี่ยวกับอนุสภากาชาดสยาม ดังนี้
“อนุสภากาชาดสยาม” รับเด็กอายุ 7 - 18 ปี เข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงมีพระนิพนธ์เกี่ยวกับอนุสภากาชาดสยาม ดังนี้
“อนุสภากาชาด” ฝึกสอนเด็กซึ่งเข้าเป็นสมาชิกทั้งชายและหญิง
1. ให้รู้จักรักษาอนามัยของตนเอง คือ รู้วิธีประพฤติให้เป็นทางบำรุงกำลัง ร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์หลบหลีกป้องกันโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย
2. ได้มุ่งทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นตั้งแต่ผู้อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน ตลอดถึงบุคคลภายนอกและ หมู่คณะประชาชน ให้รู้วิธีการว่าสิ่งใดควรทำ และพึงทำอย่างไร เช่น ปรนนิบัติพยาบาล บิดามารดา ช่วยคนเจ็บปัจจุบันทันด่วนช่วยรักษาความสะอาด และปกป้องสิ่งที่จะเป็นเชื้อให้เกิดโรค
1. ให้รู้จักรักษาอนามัยของตนเอง คือ รู้วิธีประพฤติให้เป็นทางบำรุงกำลัง ร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์หลบหลีกป้องกันโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย
2. ได้มุ่งทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นตั้งแต่ผู้อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน ตลอดถึงบุคคลภายนอกและ หมู่คณะประชาชน ให้รู้วิธีการว่าสิ่งใดควรทำ และพึงทำอย่างไร เช่น ปรนนิบัติพยาบาล บิดามารดา ช่วยคนเจ็บปัจจุบันทันด่วนช่วยรักษาความสะอาด และปกป้องสิ่งที่จะเป็นเชื้อให้เกิดโรค
3. ให้รู้หน้าที่ของพลเมือง อันจะต้องช่วยกันทำการเพื่อประโยชน์สุขแก่ชุมนุมชน
4. ให้รู้คิด รู้จักการในอันจะรวมแรงกันในหมู่คณะ ทำประโยชน์เกื้อกูล บรรเทาทุกข์แก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก อนาถาตั้งแต่ต้น แต่ในพวกเด็กด้วยกันขึ้นไป ซึ่งย่อมจะเป็นกำลังทำได้ยิ่งกว่าจะทำแต่ลำพังบุคคล
5. เพาะเป็นนิสัยให้เป็นผู้มีจิตใจกอปรด้วยเมตตากรุณาแก่เพื่อนมนุษย์ กตัญญู รู้สนองคุณท่านผู้มีบุญคุณ
มีบิดา มารดา เป็นต้น
มีบิดา มารดา เป็นต้น
หลังจากได้มีการก่อตั้งกิจการอนุสภากาชาดสยามขึ้นในเดือนมกราคมแล้วนั้น ต่อมาวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2465 ได้มีการเปิดหมู่อนุสภากาชาดสยามเป็นแห่งแรกขึ้น ณโรงเรียนราชินีโดยหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล พระอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนราชินี ทรงดำรงตำแหน่งนายกหมู่คนแรก และได้ทรงนิพนธ์บทเรียนเป็นบทละครเกี่ยวกับการรักษาอนามัย การละเล่นเบ็ดเตล็ดซึ่งแฝงคติธรรม ให้สมาชิกได้แสดงในพิธีเข้าประจำหมู่และในงานกาชาด เช่น บทละครเรื่อง ยายกับหลาน ใครฆ่าเชื้อโรค ต้นไม้กาชาด นายพรานกับนกเขา กินนรรำ เป็นต้น นอกจากนี้ ในวันรุ่งขึ้น 30 มีนาคม 2465 หมู่ยุวกาชาดแห่งที่ 2 ได้เปิดดำเนินการขึ้น ณ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเปิดทำการสอนในหลักสูตรฝึกหัดครู จึงนับได้ว่า โรงเรียนเบญจมราชาลัย เป็นหมู่ยุวกาชาดแห่งแรกในโรงเรียนสังกัดสามัญศึกษา ทั้งนี้ หมู่ยุวกาชาดทั้งสองแห่งได้ร่วมกันจัดให้มีพิธีเข้าประจำหมู่เป็นครั้งแรกของการดำเนินงานอนุสภากาชาดสยาม
การจัดตั้งหมู่อนุสภากาชาดขึ้นในครั้งนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่น ๆ โดยการจัดหลักสูตรและกิจกรรม เน้นการปลูกฝังเรื่องความเสียสละ การรู้จักบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ รู้จักการรักษาอนามัยของตนเองและส่วนรวมและในปี 2465 นั้น ได้เริ่มมีการจัดพิมพ์วารสารยุวกาชาดขึ้น โดยเมื่อเริ่มแรกนั้นใช้ชื่อว่า “อนุสภากาชาดอุปกรณ์” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “หนังสือพิมพ์อนุกาชาด” “วารสารอนุกาชาด” และ “วารสารยุวกาชาด”ตั้งแต่ปี2521 จนถึงปัจจุบัน
2. อาสายุวกาชาด ได้แก่ เยาวชนอายุระหว่าง 15 ปี ถึง 25 ปี หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีความสนใจสมัครเป็นอาสายุวกาชาด ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด และสังกัดชมรมอาสายุวกาชาด
ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2515 สภากาชาดไทยได้อนุมัติให้จัดกิจกรรม อนุกาชาดนอกโรงเรียน แก่เยาวชนอายุระหว่าง 13 - 25 ปี ที่ไม่ได้ศึกษาอยู่ในสถานศึกษา แต่เนื่องจากขาดงบประมาณ จึงยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ
พ.ศ. 2521 เปลี่ยนชื่อ “อนุกาชาด” เป็น “ยุวกาชาด” และขยาย อายุสมาชิกจาก 7 - 18 ปี เป็น 7 -25 ปีเพราะต้องการให้นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนอยู่ในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา รวมถึงเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก
พ.ศ. 2522
- กองยุวกาชาด ได้เริ่มดำเนินงานยุวกาชาดนอกโรงเรียน ซึ่งชะลอการดำเนินการมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2515 โดยมุ่งสนับสนุนให้เยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาในสถานศึกษา ได้มีโอกาสฝึกหลักการและอุดมการณ์ของกาชาด ฝึกฝนวิชาชีพและวิชาการต่าง ๆที่จะเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อที่จะได้นำความรู้ไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติต่อไป ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานผ้าผูกคอให้แก่ยุวกาชาดนอกโรงเรียนการดำเนินการนี้ส่งผลให้ยุวกาชาดนอกโรงเรียนขยายอย่างกว้างขวางออกไปสู่ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และกรมราชทัณฑ์
- ปรับเปลี่ยนตำแหน่ง หัวหน้ากองยุวกาชาด เป็น ผู้อำนวยการกองยุวกาชาด
พ.ศ. 2537 กรมราชทัณฑ์ เห็นคุณค่าของกิจกรรมยุวกาชาด ที่สามารถส่งผลต่อการกล่อมเกลาจิตใจของเยาวชนในเรือนจำและทัณฑสถาน ซึ่งเป็นเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ให้เขาเหล่านั้นเห็นคุณค่าของตนเองที่มีต่อสังคม มองเห็นความหวังของชีวิตที่จะก้าวพ้นพันธนาการไปสู่อิสระด้วยความมั่นคงทางจิตใจ และกลับสู่สังคมได้อย่างเชื่อมั่นว่า ตนเองจะสามารถเป็นคนดีของสังคมได้เฉกเช่นเยาวชนอื่น ๆ จึงเกิดการอบรมยุวกาชาดนอกโรงเรียนในทัณฑสถานขึ้น เป็นครั้งแรก ณ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิงธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และจากการดำเนินการอบรมในครั้งนั้น กรมราชทัณฑ์ได้ขยายผลไปยังทัณฑสถานหญิงอีก 6 แห่งทั่วประเทศ จนกระทั่งในพ.ศ. 2542 กรมราชทัณฑ์จึงได้ประกาศเป็นนโยบายให้นำกิจกรรมยุวกาชาดนอกโรงเรียนไปจัดให้กับเยาวชนชาย - หญิงในเรือนจำ และทัณฑสถานต่าง ๆ ทั่วประเทศจนกระทั่งปัจจุบัน
พ.ศ. 2539 กองยุวกาชาดได้จัดให้มีโครงการอาสายุวกาชาดอุดมศึกษาขึ้น โดยมุ่งหวังให้ระดมพลังหนุ่มสาวในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบ“อาสสาสมัคร”ของกองยุวกาชาด
พ.ศ.2540 เปลี่ยนชื่อกองยุวกาชาดสภากาชาดไทยเป็นสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย
พ.ศ 2542
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีอุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทยทรงพระราชทานปฎิญญาของสภากาชาดไทย ในการประชุมสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ครั้งที่ 27 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 6 พฤศจิกายน 2542 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีสาระสำคัญตอนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของยุวกาชาด คือ “จะเผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศสู่สถาบันการศึกษา ทั้งของพลเรือนและทหาร” และ “จะเริ่มโครงการในระดับรากหญ้า โดยร่วมกับยุวกาชาดในการเผชิญกับปัญหาสำคัญ ๆ ที่คุกคามเยาวชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดและสุขภาพเจริญพันธุ์” ทำให้มีการปรับหลักสูตรยุวกาชาดเพื่อให้สอดคล้องกับปฎิญญาดังกล่าว และยึดถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนของยุวกาชาดจนถึงปัจจุบัน - รัฐบาลได้ปฏิรูประบบราชการ มีการยุบรวมหน่วยงานเพื่อให้เกิดความชัดเจนในภารกิจ หน้าที่ ในการนี้ กรมพลศึกษาซึ่งดูแลกิจการยุวกาชาดมาตั้งแต่เริ่มแรก ได้ถูกรวมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และให้งานลูกเสือ ยุวกาชาด และสารวัตรนักเรียน ไปอยู่ในสังกัดของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และยกระดับให้เป็น สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน พร้อมกับย้ายที่ทำการจากสนามศุภชลาศัย ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย ได้ย้ายกลับสู่สภากาชาดไทยเมื่อเดือนกันยายน 2546 มีที่ทำการ ณ ตึกจิรกิติ - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พินิจ กุลละวณิชย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย นับเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานยุวกาชาดที่เป็นเจ้าหน้าที่สังกัดสภากาชาดไทย ดังนั้นจะเห็นได้ว่านับแต่พ.ศ.2546 เป็นต้นมา กิจการยุวกาชาดอยู่ในความรับผิดชอบของ 2 หน่วยงานคือ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย และ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยทั้ง 2 หน่วยงาน ยังคงประสานการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
พ.ศ. 2550
สภากาชาดไทยจึงออกข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2550 หมวดที่ 9 ยุวกาชาด มีสาระสำคัญดังนี้
“วัตถุประสงค์ของยุวกาชาด : เพื่อฝึกอบรมให้เยาวชนชายและหญิง
1. มีอุดมคติในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.มีความรู้ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเองและของผู้อื่น ตลอดจนการพัฒนา ตนเอง ทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรม และธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ 3. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจเมตตา กรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ 4. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. มีสัมพันธภาพและมิตรภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป |